ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)

นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย ร.น. (22 มกราคม พ.ศ. 2438 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2508) มีชื่อจริงว่า บุง ศุภชลาศัย รองผู้บัญชาการทหารเรือ อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง กรีฑาสถานแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2481

หลวงศุภชลาศัย เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2438 ณ ตำบลถนนพระอาทิตย์ อำเภอชนะสงคราม จังหวัดพระนคร เป็นบุตรนายเบี้ยวและนางพ่วง เรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดชนะสงคราม, โรงเรียนวัดบวรนิเวศ และโรงเรียนวัดราชบูรณะ (โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) จนจบชั้นมัธยมเมื่อ พ.ศ. 2454 และสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนนายเรือ เรียนเก่งถึงขั้นได้รับเกียรตินิยมของสถาบัน

บุง ศุภชลาศัย เริ่มต้นชีวิตราชการทหารเรือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2461 ประจำการบนเรือรบหลวง "สุครีพครองเมือง" ตำแหน่งสุดท้ายก่อนออกจากกองทัพเรือ คือรองผู้บัญชาการทหารเรือ ต่อมาในรัฐบาล พระยาพหลพลพยุหเสนา กระทรวงศึกษาธิการ ได้สถาปนากรมใหม่ขึ้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 เพื่อจัดการงานด้านพลศึกษาของชาติ มี อำมาตย์เอกพระยาประมวลวิชาพูล (วงษ์ บุญ-หลง) รักษาราชการในตำแหน่งอธิบดี จนกระทั่ง วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2477 นาวาโท หลวงศุภชลาศัย ร.น. (บุง ศุภชลาศัย) จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา คนแรกอย่างเป็นทางการ

หลวงศุภชลาศัย เป็นผู้วางรากฐานการพลศึกษาและกีฬานักเรียนเมืองไทยหลายประการ อาทิ การบรรจุหลักสูตรวิชาพลศึกษา โรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษาทั่วประเทศ และสิ่งสำคัญ สำหรับชาวพลศึกษา คือการกำหนดสัญญลักษณ์ วงกลมห่วง 3 สี ประดิษฐานอยู่ใต้รูปพระพลบดี ซึ่งห่วงสีขาวแทนพุทธิศึกษา, ห่วงสีเหลืองแทนจริยศึกษา และห่วงสีเขียวแทนพลศึกษา โดยความหมายแห่งนัย คือบุคคลจะมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง และก่อประโยชน์ให้กับชาติบ้านเมืองได้อย่างแท้จริงจะต้องมีความสมดุลระหว่าง ความรู้ ความประพฤติและพลานามัย ดังเช่นห่วงทั้ง 3 วง ที่วางทับกันอย่างมีเอกภาพ

หลวงศุภชลาศัย ได้ส่งเสริมการแข่งขันกีฬานักเรียนของกรมพลศึกษา จัดให้มีการมอบเสื้อสามารถแก่นักกีฬาที่มีความยอดเยี่ยมทุกประเภท ก่อนจัดแข่งขันกีฬาประชาชนทั่วประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก และใน พ.ศ. 2479 จึงย้ายสนามแข่งขันกีฬานักเรียนประจำปี จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ไปทำการแข่งขัน ณ สนามหลวง

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2478 กรมพลศึกษา ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน เนื้อที่ 114 ไร่ 1 งาน 25.12 ตารางวา ตรงบริเวณที่เดิมเป็นวังวินเซอร์ ซึ่งเป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สร้างพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อจัดสร้างสนามกีฬาแห่งชาติ และได้ดำเนินการของบประมาณแผ่นดิน เพื่อใช้การจัดสร้างสนามกีฬา ใช้ชื่อว่า สนามกรีฑาสถาน (National Stadium) และโรงเรียนพลศึกษากลาง เริ่มงานตั้งแต่ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 จวบจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2484

ในขณะที่สนามกรีฑาสถานยังสร้างไม่เสร็จ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดการแข่งขันกีฬาประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2481 โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานพิธีเปิดการแข่งขัน ณ สนามกรีฑาสถาน เป็นครั้งแรก

เมื่อ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 กรมพลศึกษา ได้เปลี่ยนชื่อสนามกรีฑาสถาน เป็น สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ เพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวงศุภชลาศัย ปัจจุบัน นิยมเรียกสั้นๆ เพียงว่า สนามศุภชลาศัย หรือ สนามกีฬาแห่งชาติ

ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2485 - 2487 นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย ร.น. ได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หลวงศุภชลาศัย ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2508 ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 กรมพลศึกษา ได้ยกย่องและเชิดชูเกียรติให้ท่านเป็น บุคคลพลศึกษาของชาติ สาขาการบริหารการพลศึกษา

หลวงศุภชลาศัย เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร ผู้กระทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยถือเป็นนายทหารเรือที่มีอาวุโสสูงสุดของคณะราษฎร ด้วยอายุ 37 ปี ซึ่งในขณะนั้น หลวงศุภชลาศัย มียศเป็น นาวาตรี (น.ต.) ก่อนที่จะออกจากบ้านพักมา เป็นเพียงไม่กี่คนในบรรดาคณะราษฎรที่บอกความจริงแก่ครอบครัวว่าจะออกจากบ้านไปทำอะไร โดยบทบาทของหลวงศุภชลาศัย ก่อนหน้านั้นเพียงวันเดียว พร้อมกับ เรือเอก สงวน รุจิราภา ได้เข้าพบกับ หลวงวิจักรกลยุทธ ซึ่งเป็นนายทหารบกคณะราษฎรเช่นเดียวกัน ถึงที่บ้านพัก เพื่อขอให้ปลอมแปลงลายเซ็นของ หลวงมนูญศาสตร์สาทร นายทหารเรือผู้ลงชื่อรับรองคำสั่งของผู้รั้งแม่ทัพเรือ เพื่อขออนุมัติคำสั่งให้นำเรือลงลาดตระเวณในลำน้ำเจ้าพระยา รวมทั้งสิ้น 11 ฉบับ อันเป็นส่วนการปฏิบัติการของฝ่ายทหารเรือ จากนั้นในเช้ามืดของวันที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลวงศุภชลาศัยได้เป็นผู้ช่วยในการตัดสัญญาณโทรศัพท์และโทรเลขที่กองพันพาหนะทหารเรือ บริเวณท่าราชวรดิฐ ร่วมกับคณะราษฎรสายทหารเรือคนอื่น ๆ เพื่อมิให้มีการติดต่อสื่อสารกับหน่วยอื่นได้ และรวบรวมอาวุธปืนและกระสุนจำนวน 45,000 นัด ที่งัดจากกองพัน ฯ ข้ามฟากมา ก่อนจะลำเลียงสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า ก่อนเวลา 06.00 น. อันเป็นจุดนัดหมายเพื่อรวบรวมกำลังทหารเรือ ก่อนที่กำลังทหารบกและพลเรือนจะมาสมบท จากนั้นเป็นผู้คุมกำลังเรือรบเข้าลาดตระเวนตามริมแม่น้ำเจ้าพระยา และทำการคุมที่ท่าน้ำวังบางขุนพรหม อันเป็นสถานที่ประทับของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้รักษาพระนคร มิให้หลบหนี และต่อมาได้รับหน้าที่เป็นผู้ถือหนังสืออัญเชิญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่แปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระราชวังไกลกังวล นิวัติยังพระนคร

หลวงศุภชลาศัย ได้เดินทางโดยเรือหลวงสุโขทัย ไปถึงพระราชวังไกลกังวลในเวลา 10.00 น. ในวันที่ 25 มิถุนายน โดยจอดเรือห่างจากชายฝั่งประมาณ 2,500 เมตร และลงเรือเล็กไป โดยสั่งแก่ทหารบนเรือว่า หากตนยังไม่กลับมาในเวลาที่เหมาะสม ให้ระดมยิงได้เลยโดยไม่ต้องห่วงตน เมื่อถึงฝั่ง หลวงศุภชลาศัยได้เข้าเฝ้า ฯ แต่ทางพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิเสธ ด้วยทรงให้เหตผุลว่า เรือหลวงสุโขทัยนั้นคับแคบเกินไป ไม่สมกับพระเกียรติยศ ซึ่งทางหลวงศุภชลาศัยก็ได้ส่งโทรเลขกลับไปยังพระนคร ท้ายที่สุดการเสด็จนิวัติกลับพระนครของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเป็นทางรถไฟขบวนพิเศษ ที่ทางพระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้รักษาพระนครและหัวหน้าคณะราษฎรจัดถวาย

รวมทั้งเคยได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดพระนคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ด้วย

หลวงศุภชลาศัย สมรสกับ สวาสดิ์ หุวนันท์ และ หม่อมเจ้าจารุพัตรา อาภากร พระธิดาพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ประสูติในหม่อมกิม อาภากร ณ อยุธยา (ธิดานายตั๊น ชุ่นเพียว)

ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม • เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ • หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) • ทวี บุณยเกตุ • อดุล อดุลเดชจรัส • หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) • พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) • แสง สุทธิพงศ์ • ประจวบ บุนนาค • เล็ก สุมิตร • พระยาบริรักษ์เวชชการ (ไล่ฮวด ติตติรานนท์) • ประยูร ภมรมนตรี • ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี • เฉลิม พรมมาส • พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) • ประเสริฐ รุจิรวงศ์ • อุดม โปษะกฤษณะ • คล้าย ละอองมณี • ประชุม รัตนเพียร • สวัสดิ์ คำประกอบ • ทวี จุลละทรัพย์ • ยงยุทธ สัจจวาณิชย์ • บุญสม มาร์ติน • เสม พริ้งพวงแก้ว • ทองหยด จิตตวีระ • มารุต บุนนาค • เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ • ชาติชาย ชุณหะวัณ • ชวน หลีกภัย • ประจวบ ไชยสาส์น • ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ • ไพโรจน์ นิงสานนท์ • บุญพันธ์ แขวัฒนะ • อาทิตย์ อุไรรัตน์ • เสนาะ เทียนทอง • มนตรี พงษ์พานิช • สมศักดิ์ เทพสุทิน • รักเกียรติ สุขธนะ • กร ทัพพะรังสี • สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ • สุชัย เจริญรัตนกุล • พินิจ จารุสมบัติ • มงคล ณ สงขลา • ไชยา สะสมทรัพย์ • ชวรัตน์ ชาญวีรกูล • เฉลิม อยู่บำรุง • วิทยา แก้วภราดัย • จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ • วิทยา บุรณศิริ • ประดิษฐ สินธวณรงค์ • รัชตะ รัชตะนาวิน • ปิยะสกล สกลสัตยาทร

มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ • ผัน นาวาวิจิต • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) • สงวน จูทะเตมีย์ • ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ • หม่อมสนิทวงศ์เสนี • สุกิจ นิมมานเหมินท์ • บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา • ประมาณ อดิเรกสาร • หลวงสวัสดิ์กลยุทธ (สวัสดิ์ ไกรฤกษ์) • กฤช ปุณณกันต์ • บุณย์ เจริญไทย • พงษ์ ปุณณกันต์ • กฤษณ์ สีวะรา • โอสถ โกศิน • อรุณ สรเทศน์ • นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ • สุรินทร์ เทพกาญจนา • ชาติชาย ชุณหะวัณ • เพิ่ม ลิมปสวัสดิ์ • เกษม จาติกวณิช • ประสิทธิ์ ณรงค์เดช • ประสงค์ คุณะดิลก • ชาติชาย ชุณหะวัณ • อบ วสุรัตน์ • จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา • ประมวล สภาวสุ • บรรหาร ศิลปอาชา • ประมวล สภาวสุ • สิปปนนท์ เกตุทัต • สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ • สนั่น ขจรประศาสน์ • ไตรรงค์ สุวรรณคีรี • ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ • โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ • กร ทัพพะรังสี • สมศักดิ์ เทพสุทิน • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ • พินิจ จารุสมบัติ • พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล • วัฒนา เมืองสุข • สุวิทย์ คุณกิตติ • มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ • ประชา พรหมนอก • ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง • ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ • วรรณรัตน์ ชาญนุกูล • หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ • ประเสริฐ บุญชัยสุข • จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช • อรรชกา สีบุญเรือง

(รัฐมนตรีช่วย) หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • ชม จารุรัตน์ • หลวงประสิทธิ์จักรการ (พ้วน โหตรภวานนท์) • หลวงอรรถพรพิศาล (อัมพร สูตะบุตร) • เสมอ กัณฑาธัญ • เลื่อน พงษ์โสภณ • ประมาณ อดิเรกสาร • ชื่น ระวิวรรณ • สงวน จันทรสาขา • สะอาด หงษ์ยนต์ • ประกายเพชร อินทุโสภณ • แสวง พิบูลย์สราวุธ • วัฒนา อัศวเหม • แผน สิริเวชชะพันธ์ • บรรหาร ศิลปอาชา • บุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ • วิมล วิริยะวิทย์ • อาชว์ เตาลานนท์ • โกศล ไกรฤกษ์ • ไกรสร ตันติพงศ์ • วิสิษฐ์ ตันสัจจา • จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา • เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ • บรม ตันเถียร • วงศ์ พลนิกร • ประโยชน์ เนื่องจำนงค์ • อนันต์ ฉายแสง • มีชัย วีระไวทยะ • ประมวล สภาวสุ • สมบูรณ์ จีระมะกร • กร ทัพพะรังสี • ดุสิต รังคสิริ • ไพฑูรย์ แก้วทอง • สมาน ภุมมะกาญจนะ • สมภพ อมาตยกุล • ประยูร สุรนิวงศ์ • วีระ สุสังกรกาญจน์ • เรืองวิทย์ ลิกค์ • อุดมศักดิ์ ทั่งทอง • พรเทพ เตชะไพบูลย์ • เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ • ประเทือง คำประกอบ • สนธยา คุณปลื้ม • อนุสรณ์ วงศ์วรรณ • ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ • พลกฤษณ์ หงษ์ทอง • อนุรักษ์ จุรีมาศ • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ • วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย • พิเชษฐ สถิรชวาล • ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ • ฐานิสร์ เทียนทอง


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180